เมนู

สัญญา ย่อมวนเวียนอยู่ ก็บุคคลบรรเทาใจ ที่
ประกอบด้วยปัญจกามคุณทั้งปวงแล้ว ย่อมรักษา
ใจให้ประกอบด้วยเนกขัมมะ ใจที่บุคคลเจริญดี
แล้วในอารมณ์ 6 อย่างนี้ ในกาลใด ในกาลนั้น
จิตของบุคคลนั้น อันสุขสัมผัสกระทบเข้าแล้ว
ย่อมไม่หวั่นไหวในที่ไหน ๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เธอทั้งหลายปราบราคะและโทสะเสียแล้ว ย่อม
เป็นผู้ถึงนิพพานซึ่งเป็นฝั่งข้างโน้นแห่งชาติและ
มรณะ.

จบ ปฐมสังคัยหสูตรที่ 1

ฉฬวรรคที่ 5


อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ 1


ในปฐมสังคัยหสูตรที่ 1 ฉฬวรรคที่ 5 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อทนฺตา แปลว่า ไม่ฝึกแล้ว. บทว่า อคุตฺตา เเปลว่า
ไม่คุ้มครองแล้ว. บทว่า อรกฺขิตา แปลว่า ไม่รักษาแล้ว บทว่า อสํวุตา
แปลว่า ไม่ปิดแล้ว. บทว่า ทุกฺขาธิวาหา โหนฺติ ความว่า ย่อม
นำมาซึ่งทุกข์มีประมาณยิ่ง ต่างด้วยทุกข์ในนรกเป็นต้น. บทว่า สุขาธิ-
วาหา โหนฺติ
ความว่า ย่อมนำมาซึ่งสุขมีประมาณยิ่ง ต่างด้วยฌาน และ
มรรค ผล. บาลีว่า อธิวาหา ดังนี้ก็มี. ความก็เหมือนกัน.

บทว่า ฉเฬว แยกสนธิเป็น ฉ เอว. บทว่า อสํวุโต ยตฺถ
ทุกฺขํ นิคจฺฉติ
ความว่า บุคคลผู้เว้นจากการสำรวม ในอายตนะเหล่าใด
ย่อมถึงทุกข์. บทว่า เตสญฺจ เย สํวรณํ อเวทึสุ ความว่าชนเหล่าใด
ประสบคือได้ ความสำรวมอายตนะ เหล่านั้น. บทว่า วิหรนฺตานวสฺสุตา
ได้แก่ เป็นผู้อันราคะ ไม่ชุ่ม ไม่เปียกอยู่. บทว่า อสาทุํ สาทุํ ได้แก่
ไม่อร่อย และอร่อย.
บทว่า ผสฺสทฺวยํ สุขทุกฺขํ อุเปกฺเข ได้แก่ผัสสะในอุเบกขา
มี 2 คือ สุขสัมผัส หรือ ทุกขสัมผัส อธิบายว่า พึงให้อุเบกขา เกิดขึ้นใน
ผัสสะ 2 อย่างเดียว อีกอย่างหนึ่ง บาลีว่า ผสฺสทฺวยํ สุขทุกฺขํ อุเปกฺขา
(ผัสสะ 2 สุขทุกข์ อุเปกขา ). อธิบายว่า สุขทุกข์ อุเบกขา มีผัสสะเป็น
เหตุ. บุคคลไม่ยังความยินดีให้เกิดขึ้นในสุข ไม่ยังความยินร้ายให้เกิดขึ้น
ในทุกข์ ก็พึงเป็นผู้อุเบกขาวางเฉย. บทว่า อนานุรุทฺโธ อวิรุทฺธ เกนจิ
ความว่า ไม่พึงยินดี ไม่พึงยินร้าย กับอารมณ์ไร ๆ.
บทว่า ปปญฺจสญฺญา ความว่า ชื่อว่า เป็นผู้มีสัญญาเนิ่นช้า
เพราะกิเลสสัญญา. บทว่า อิตรีตรา นรา ได้แก่สัตว์ผู้ต่ำทราม. บทว่า
ปปญฺจยนฺตา อุปยนฺติ ความว่า ยินดีธรรมเป็นเครื่องเนิ่นช้า. ย่อมเข้า
ถึงวัฏฏะ บทว่า สญฺญิโน ได้แก่สัตว์ผู้มีสัญญา. บทว่า มโนมยํ
เคหสิตญฺจ สพฺพํ ความว่า จิตสำเร็จด้วยใจอันอาศัยเรือนคือกามคุณ 5
ทั้งปวงนั่นเอง. บทว่า ปนุชฺช แปลว่า บรรเทา คือนำออก. บทว่า
เนกฺขมฺมสิตํ อิริยติ ความว่า ภิกษุผู้เป็นชาติบัณฑิต ย่อมดำเนินจิต
อาศัยเนกขัมมะ. บทว่า ฉสฺสุ ยทา สุภาวิโต ความว่า คราวใด

ใจอบรมด้วยดีในอารมณ์ 6. บทว่า ผุฏฺฐสฺส จิตฺตํ น วิกมฺปเต กฺวจิ
ความว่า หรือ เมื่อบุคคล ถูกสุขสัมผัสกระทบแล้ว จิตย่อมไม่หวั่นไม่ไหว
ในอารมณ์อะไร ๆ. บทว่า ภวถ ชาติมรณเสฺส ปารคา ความว่า จง
เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งชาติและชรา.
จบ อรรถกถาปฐมสังคัยหสูตรที่ 1

2. ทุติยสังคัยหสูตร


ว่าด้วยทรงแสดงธรรมเพื่ออยู่ผู้เดียว


[13] ครั้งนั้นแล ท่านพระมาลุกยบุตร มีความเพียร มีใจ
เด็ดเดี่ยว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้นแล้ว ได้
กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ขอ
ประทานวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์.
โดยย่อที่ข้าพระองค์สดับแล้ว พึงเป็นผู้ ๆ เดียวหลีกออกจากหมู่ ไม่ประมาท
มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่เถิด พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
มาลุกยบุตร ในการที่เธอขอโอวาทนี้ในบัดนี้ เราจักบอกกะพวกภิกษุหนุ่ม
ทำไม ก็ท่านใดแก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว ย่อม
ขอโอวาทโดยย่อ เราจักบอกแก่เธอนั้น.
[132] มา. ข้าแต่พระองค์เจริญ ข้าพระองค์แก่แล้ว เป็นผู้เฒ่า
ผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้วก็จริง ถึงกระนั้น ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าขอ
พระสุคตโปรดแสดงธรรมโดยย่อแก่ข้าพระองค์เถิด ไฉนข้าพระองค์พึงรู้
ถึงพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า พึงเป็นผู้ได้รับพระภาษิตของพระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า.